วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยว จ. อุดรธานี






อนุเสาวรีย์พระเจ้าบรมวงค์เธอกรมหลวง ประจักษ์ศิลปาคม

ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นผู้ริเริ่มทรงจัดวางระเบียบราชการปกครองบ้านเมืองและรับราชการใน หน้าที่สำคัญๆ ที่อำนวยประโยชน์แก่ราษฏร อนุเสาวรีย์พระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวอุดรธานี
เคล็ดลับในการกลางไหว้ขอพร
สักการะเพื่อของพรเกี่ยวกับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ความก้าวหน้าการสอบเข้ารับราชการทหาร ตำรวจ รัฐวิสาหกิจ สอบแข่งขันเพื่อศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ เคล็ดลับคือการตั้งจิตอธิฐานบนบานพระองค์ท่านด้วยการวิ่งแก้บนท่านรอบอนุ เสาวรีย์ๆ และถวายดาบกับม้า
วิธีการไหว้
จุดธูป 9 ดอก เทียน2 เล่ม หากต้องการบนบานให้ใช้ธูป 16 ดอก เทียน 2 เล่ม พร้อมดอกไม้หรืออาจจะใช้น้ำมันเพื่อเติมตะเกียง บริเวณอนุสาวรีย์ๆ ให้มีความสว่างไสว
ศาลหลักเมืองอุดรธานี

http://socialt7.blogspot.com/2013/11/blog-post_7.html

ตามประวัติกล่าวว่า ศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 โดยอัญเชิญดวงพระวิญญาณของ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นเมือ พ.ศ.2436 มาสถิต ณ เสาหลักเมืองนี้ด้วย องค์เสาหลักเมืองทำขึ้นด้วยไม้คูณยาว 5 เมตรเศษ และฝังลึกลงไป 3 เมตร มีการบรรจุแผ่นยันต์และแก้วแหวน เงิน ทองต่างๆเป็นจำนวนมากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาในปี พ.ศ.2542 ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมไป ตัวอาคารของศาลหลักเมืองจะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ผสมผสานศิลปะแห่งภาคอีสาน ให้เป็นที่สักการะขอพรของชาวอุดรธานีสืบมา

สถานที่ตั้ง

บริเวณทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุดรธานี

ความเชื่อและวิธีการบูชา

มีผู้นิยมมาสักการะศาลหลักเมืองเพื่อขอพร ให้ชีวิตมั่นคง ราบรื่นทั้งการงานและการเงิน โดยมีเคล็ดความเชื่อว่าหากเข้าประตูใดให้ออกประตูนั้น จะทำให้ได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้น ส่วนการสักการะพระพุทธโพธิ์ทองนั้นเชื่อว่าจะทำให้มีร่มโพธิ์ร่มไทร มีผู้ใหญ่สนับสนุน ค้ำจุน โดยผู้ที่มาสักการะมักเก็บใบโพธิ์ที่หล่นอยู่หลังคาไปบูชาเพื่อเป็นมงคลด้วย และการบูชารูปปั้นของท้าวเวสสุวัณนั้นถือว่าคือการขอพรให้ศัตรูหมู่มารหรือ ผู้มาคิดร้ายให้แพ้ภัยตัวเอง หรือกลับใจมาเป็นมิตร

เทศกาลงานประเพณี


มีพิธีบวงสรวงสักการะในวาระสำคัญของเมือง ทุกครั้ง เช่นในเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่ หรืองานประจำปีทุ่งศรีเมือง (ประมาณวันที่ 1-15 ธันวาคม ของทุกปี)




http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/408/8408/images/Bahchieng/BC10.jpg
            
ในบริเวณเนินดินหมู่บ้านเชียงนี้มีพื้นที่กว้างขวางประมาณ 250 ไร่เมื่อทำการขุดทดสอบดูก็จะพบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณที่สูง ที่ชาวบ้านปัจจุบันปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่ซึ่งหมายถึงว่าคงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มใหญ่สมัยโบราณอีกประการหนึ่ง ความเชื่อและประเพณีการฝังศพในยุคนั้นนิยมฝังไว้ใต้ถุนบ้านเรือน และบริเวณที่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนักในระยะที่ทำการขุดค้นนั้น ได้พบหลุมเสาอาคารบ้านเรือนเป็นแห่ง ๆและเครื่องมือปั้นหม้อ ถ่านไฟ พร้อมทั้งเศษเครื่องปั้นดินเผาตามพื้นที่อยู่อาศัยระดับต่าง ๆ ประเพณีการฝังศพก็คงจะฝังในบริเวณเดียวกันแต่ละแห่งต่างยุค ต่างสมัย จึงทำให้พบร่องรอยของหลุมฝังศพและเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีอย่างหนาแน่นในพื้นที่ใกล้ ๆ กันและชุมชนดังกล่าวนี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มชน



http://aonkannikar.blogspot.com/2013/02/blog-post_3.html



สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บ้านโนนน้อย ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
เดิมเรียกว่า "หนองนาเกลือ" เพราะบริเวณรอบ ๆ หนองทำเกลือสินเธาว์ อาศัยดินเกลือจากหนองมาต้ม เป็นหนองน้ำใหญ่ที่เลี้ยงชุมชนบ้านหมากแข้ง เมื่อพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงย้ายกองบัญชาการมณฑลลาวพวนจากเมืองหนองคายมาอยู่ที่บ้านหมากแข้งตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ กรณีดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้อาศัยน้ำจากหนองนาเกลือเลี้ยงกองทหารและผู้คนที่ติดตามมา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหนองนาเกลือเป็น "หนองประจักษ์" เพื่อเป็นเกียรติแด่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ผู้สร้างเมืองอุดรธานี ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้สร้างเป็นโครงการอ่างเก็บน้ำหนองประจักษ์ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖




วัดป่าบ้านตาด  เริ่มก่อตั้งเมื่อปี เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ให้ชื่อว่า วัดเกษรศีลคุณ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในนาม

ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตรโดยมีศรัทธาญาติโยมชาวบ้านตาดถวาย พื้นที่ในกำแพงล้อมรอบประมาณ ๑๖๓ ไร่ และบริเวณรอบกำแพงที่มีผู้ซื้อที่ถวายอีกหลายแปลง ตลอดทั้งทางวัดซื้อที่เพิ่ม อีกประมาณ ๑๔๐ ไร่ รวมประมาณ ๓๐๐ ไร่ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม อันสงบเรียบง่าย ร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่นานาพันธุ์ เป็นสถานที่พึ่งพิงของสัตว์น้อยใหญ่ ในเขตอภัยทานหลากชนิด อาทิ ไก่ป่า กระรอก กระแต กระต่าย เต่า แย้ นก ฯลฯ



https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%93+(%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7)&client=firefox-b-ab&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwiW45iPt6zPAhWHqI8KHU7MB_cQsAQIMg&biw=1065&bih=648#imgrc=_

              ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน หรือ " หลวงตาของเรา" ถือกำเนิดในครอบครัว ชาวนาผู้มีอันจะกิน แห่งสกุล "โลหิตดี" ณ  ตำบลบ้านตาดอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2456 โดยมีบิดา " นายทองดี" และมารดา "นางแพง" ได้ให้มงคลนามว่า "บัว" ในจำนวน  พี่น้องทั้งหมด 16 คน เฉพาะที่ยังมี ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน 6 คน เว้นท่านเสีย เป็นชาย 1 คน หญิง 5 คน มีท่านเพียงผู้เดียว ที่ดำรงอยู่ในสมณเพศ และกอปรด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม    ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม อันประเสริฐ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวพุทธเรา อย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกประเทศ
                 ท่านอาจารย์บวชที่วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (ชุม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม  2477
พระเถระผู้ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์สอนท่านปฏิบัติคือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ชมมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ   บางเขน   กรุงเทพมหานคร


https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C&client=firefox-b-ab&biw=1065&bih=648&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjGw5GhuKzPAhVEgI8KHQA-B_UQ_AUICSgC

วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่บนถนนเพาะนิยม เลขที่ 22 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของหนองประจักษ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 40 ไร่ ปัจจุบันมี พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) เป็นเจ้าอาวาส ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ วัดโพธิสมภรณ์ เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ


https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8C%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA&client=firefox-b-ab&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjTz6D8uazPAhUIqo8KHYQqAfQQ_AUICCgB&biw=1065&bih=648#tbm=isch&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8C%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA+%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3&imgrc=_


วัดมัชฌิมาวาส ตั้ง อยู่ที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง เดิมเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ชาวบ้านิยมเรียกว่าวัดเดิมหรือวัดเก่า ในวิหารเล็กๆ ภายในวัด มีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่  ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อนาค"   เป็นที่เคารพสักการะ ของชาวอุดรธานีมาก   ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม   ได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า "วัดมัชฌิมาวาส"


                  
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99&client=firefox-b-ab&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwjUv-Knu6zPAhVKP48KHXSZCfYQsAQIGw&biw=1065&bih=757#imgrc=_

หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิดในราคาย่อมเยา การเดินทาง มีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานี และตลาดรังษิณา



คณะทูตานุทูตและคู่สมรสรวม ๒๖ ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศที่เดินทางไปเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานีและวัดพระพุทธบาทบัวบาน ตามโครงการวัฒนธรรมสัญจรสำหรับคณะทูตานุทูต จ.อุดรธานี และนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๖ ก.พ. ๒๕๕๘ ต่างให้ความสนใจและรับรู้คุณค่าของภูพระบาทที่กรมศิลปากรกำลังนำเสนอขึ้นบัญชีมรดกโลก
ภูพระบาท แหล่งมรดกวัฒนธรรมที่กระจายตัวอยู่ในบริเวณภูเขา โดดเด่นจากการได้พัฒนาขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนปัจจุบัน ได้รับการเชื่อถือว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ คณะทูตานุทูตได้พิสูจน์จากหลักฐานทางโบราณคดีหลายยุคสมัย หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่คณะทูต ๕o คน ไม่พลาดชม คือ ภาพเขียนสีบนผนังหินทั่วทั้งภูพระบาท ทั้งภาพคน สัตว์ มือ ลวดลาย เรขาคณิต เป็นภาพยุคก่อนประวัติศาสตร์ รวมถึงเสมาหินยุคทวารวดีของแท้ดั้งเดิม 

นอกเหนือไปจากความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแล้ว คณะทูตยังประทับใจกับลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามแปลกตาของแท่งหิน เพิงหิน พร้อมรับฟังตำนานพื้นบ้านอุสา-บารส และพระกึด-พระพาน ที่เป็นที่มาของชื่อสถานที่ของแหล่งโบราณคดีในภูพระบาท เพิ่มสีสันและบรรยากาศโรแมนติกให้กับการเที่ยวชม

พระพุทธบาทหลังเต่า" ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระพุทธบาทบัวบก
วัดพระพุทธบาทบัวบก
      วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพาน ซึ่งอยู่บริเวณอาณาเขตของ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญต่อชาวอุดรธานีอีกแห่งหนึ่ง ห่างจากหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (อุดรธานี-หนองคาย) ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายที่บริเวณบ้านดงไร่ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๒๐๒๑ เพื่อไปยังอำเภอบ้านผือเป็นระยะทาง ๔๓ กิโลเมตร จากนั้นจึงเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข ๒๓๔๘ (บริเวณแยกโรงพยาบาลบ้านผือ ซึ่งจะไปยังอำเภอน้ำโสม) เป็นระยะทาง ๘ กิโลเมตร จนถึงบริเวณสามแยกบ้านติ้ว ก็ให้ขับรถตรงขึ้นเขาตามถนนลาดยาง อีกประมาณ ๔ กิโลเมตร ก็เข้าสู่เขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ถึงทางแยกเข้าอุทยานฯ ให้ตรงไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึง วัดพระบาทบัวบก       



น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บ้านสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนายูงอำเภอน้ำโสม เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอู   มีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อนสวยงามมาก ท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพันธุ์น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตก-ขนาดเล็กมี 3 ชั้น     อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103  กิโลเมตร
การเดินทาง จากตัวจังหวัดอุดรธานี   ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือและอำเภอน้ำโสม    เมื่อถึงอำเภอน้ำโสม จะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไป อีกประมาณ 17 กิโลเมตร  ก็จะถึงทางแยกวนอุทยาน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช .ตลอดสายและมีสภาพดี


   วนอุทยานน้ำตกธารงาม  วนอุทยานน้ำตกธารงาม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมดประมาณ ๗๘,๑๒๕ ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๗ ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่ห้วยสามทาก-ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี
      จุด เด่นที่น่าสนใจภายในวนอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และมีลานหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงราย และซ้อนกันอยู่ และที่จุดนี้สามารถมองเห็นวิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้ พรรณไม้ที่พบเห็นได้แก่ ประดู่ นนทรี ยาง กระบะตะเคียนทอง ตะเคียงเงิน และสัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมู่ป่า กระจง ค่าง อีเห็น
       สถานที่พัก วนอุทยานน้ำตกธารงามไม่มีบ้านพักบริการสำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม หรือทัศนศึกษา จะต้องนำเต็นท์ไปเอง และควรติดต่อขออนุญาตก่อนล่วงหน้าได้ที่ หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงาม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายจัดการวนอุทยาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๔๒๙๒-๓ ต่อ ๗๑๙
       การเดินทาง ไปวนอุทยานน้ำตกธารงามอยู่ห่างจากอำเภอหนองแสงประมาณ ๖ กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางในการเดินทางได้ ๓ เส้นทาง ได้แก่เส้นทางแรก จากอุดรธานี-บ้านเหล่า-โคกลาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เส้นทางที่สอง จากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง-บ้านตาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร เส้นที่สาม จากอุดรธานี-ห้วยเกิ้ง อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร







ป่าคำชะโนด หรือ เมืองชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลวังทอง, ตำบลบ้านม่วง และตำบลบ้านจันทร์ ใน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นป่าที่มีลักษณะเหมือนเกาะขึ้นอยู่กลางทุ่งนา เต็มไปด้วยต้นชะโนด ซึ่งเป็นพืชจำพวกปาล์ม ความยาวประมาณ 200 เมตร[1] ป่าคำชะโนดเป็นสถานที่ ๆ ปรากฏในตำนานพื้นบ้าน เป็นสถานที่ ๆ เชื่อว่า เป็นที่สิงสถิตของพญานาคและสิ่งลี้ลับต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นจะพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญพระเวท รวมถึงหญิงสาวที่มายืมเครื่องมือทอผ้าอยู่เป็นประจำ และเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงที่อำเภอบ้านดุง แต่น้ำก็ไม่ท่วมบริเวณคำชะโนด เมื่อระดับน้ำลดลง คำชะโนดก็ยังคงอยู่เช่นเดิม



"ภูฝอยลม" ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี ชื่อของภูฝอยลมมาจากไลเคนชนิดหนึ่ง คือ "ฝอยลม"ซึ่งเคยพบเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ในบริเวณนี้ แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากป่าถูกบุกรุกจนมีสภาพเสื่อมโทรม ปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ ให้เป็นที่ทัศนศึกษาของประชาชน ประกอบด้วยสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี อุทยานโลกล้านปี มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์แสดงซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติซึ่งจะได้พบป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง สลับป่าทุ่งหญ้า น้ำตกเล็ก ๆ และถ้ำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน(วัดป่าภูก้อน)
 
                 "วัดป่าภูก้อน" ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นแผ่นดินรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากความดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ของป่าไม้ธรรมชาติซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยมุ่งจะดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำลำธาร ตลอดจนสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน
           โดยในปี พ.ศ.2527 ครอบครัวคุณโอฬารและคุณปิยวรรณ วีรวรรณ ได้เดินทางมาธุดงค์กรรมฐาน และเกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระป่า ได้ช่วยเหลือด้านกฎหมายเป็นระเบียบของกรมป่าไม้ ให้วัดป่าสามารถอาศัยพื้นที่ป่าสงวนได้อย่างถูกต้อง ต่อมาท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย ได้เมตตาพาไปดูป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง แต่กำลังจะถูกสัมปทานตีตราตัดไม้ คณะศรัทธาจึงได้ตัดสินใจสร้างวัด โดยกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์ชาลี ถิรธัมโม (ปัจจุบันเป็นพระครูจิตตภาวนาญาณ) เป็นประธานและขวัญกำลังใจในการก่อสร้าง จนเป็นผลสำเร็จดังนี้

            วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม ภายในเนื้อที่ 15 ไร่
            วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้สร้างวัด
            วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็น  “วัดป่าภูก้อน”

               วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เพื่อรักษาบริเวณวัดให้คงสภาพป่าอย่างสมบูรณ์ คณะศรัทธาจึงพยายามอย่างหนัก    ที่จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่โดยรอบวัดด้วย     จนในที่สุดได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวน แห่งชาติเพื่อจัดตั้งพุทธอุทยาน มีเนื้อที่ 1,000 ไร่ และได้รับขนานนาม


วัดนาหลวง (วัดภูย่าอู่)    
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87+(%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88)&client=firefox-b-ab&biw=1920&bih=943&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjzgaz8lrHPAhVIvI8KHdhGA_oQ_AUICigD#imgrc=_                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดนาหลวง (วัดภูย่าอู่)



ภูย่าอู่  อยู่หลบเงียบหลังเขา  เป็นวัดป่าสายหลวงปู่มั่น  อยู่ในเขตอำเภอน้ำโสม จ.อุดรฯ  ติดกับ อ.บ้านผือ  , และติดกับ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
      สมัยก่อน  เป็นสำนักสงฆ์ที่อยู่ลึกลับที่สุดแห่งหนึ่ง  ที่มีน้อยคนจะรู้  เข้าไปถึงยากมากๆ  ต้องเดินขึ้นเขา  บุกป่าเข้าไปนานหลายชั่วโมงกว่าจะถึง  และต้องรู้ทาง  เพราะอาจจะหลงป่าง่าย  ป่าในแถบนั้น  มีสัตว์ป่า  ผี  เปรต  เทวดา มากมาย  หลวงปู่ครูบาอจารย์พระธุดงค์สมัยก่อนมักจะชอบไปหลบตัวกันแถวๆนั้น  ซึ่งมีพื้นที่หลายสิบตารางกิโลเมตร  อีกมุมหนึ่งของป่า จะเป็นผาดัก ห่างจากภูย่าอู่ประมาณ ๑๐ กม.  อีกมุมหนึ่งเป็นสันเขาเดียวกัน จะเป็นภูนกกระบา  ซึ่งถ้าเดินตามสันเขาภูนกกระบาไปเรื่อยๆ จะมองเห็นทิวทัศน์สวยงามมากๆ ทั้งฝั่งไทย ฝั่งลาว และแม่น้ำโขง   ..ภูย่าอู่จะอยู่ใกล้น้ำตกยูงทอง และผาหลวงปู่มั่น ซึ่งหลวงปู่มั่นเคยมาหลบภาวนาที่นั่นนานระยะหนึ่ง  บรรยากาศของสำนักสงฆ์ภูย่าอู่ จะวิเวกเงียบสงบมากๆ สุดๆ  จนน่ากลัว น่าขนพอง ใครที่ขวัญอ่อน ขี้กลัวผี  น่าจะไปฝึกที่นั่น  จะช่วยให้จิตสงบไว  รวมไว  และมีสิ่งน่าแปลกอย่างหนึ่งคือ มีพืช ต้นไม้ และดอกไม้ เถาวัลย์  ต้นเฟิร์น ฯลฯ แปลกๆหลายๆอย่างที่นั่น  ซึ่งไม่มีในที่อื่นๆ  ไม่เคยเห็นในที่อื่นๆมาก่อน  .. ใครต้องการภาวนาแบบหลบหลีกปลีกตัว  หลบสังคม  ไม่อยากเจอใคร  ก็ไปฝึกที่ภูย่าอู่นี่  จะสมหวัง
      ป่าเขาบริเวณภูย่าอู่ จะมีอะไรอย่างหนึ่ง  ที่นักภาวนาเจอกันมากมาย บ่อยๆ  เจอมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่มั่น และชาวพื้นบ้านแถวนั้นก็เจอกันบ่อยๆ  คือ เปรตขาเดียว  ซึ่งมีอยู่ตัวหนึ่ง ชอบท่องเที่ยวอยู่ในบริเวณนั้น   ชาวบ้านจะเรียกชื่อเปรตตัวนี้ว่า "ผีถังแดง"  เพราะมันมีขาเดียว  มีเท้าใหญ่มาก ขามันใหญ่ขนาดพอๆกับถังน้ำมัน ๒๐๐ ลิตร (สมัยก่อนเขาจะทาสีแดง)  จึงตั้งสมญานามให้เปรตตัวนี้ว่า ผีถังแดง หมายถึงมีขาใหญ่ขนาดเท่าถังน้ำมันสีแดง ๒๐๐ ลิตร ...  พระและนักภาวนาจำนวนหนึ่งที่ไปภาวนาในป่าแถวๆนัน  มักจะมีประสบการณ์เจอเปรตตัวนี้กันบ่อยๆ  เขาจะเล่ากันว่า  เมื่อภาวนาไปจนดึกๆ หลังเที่ยงคืน จะได้ยินเสียงเดินจนภูเขากระเทือนของเปรตตัวนี้ผ่านมาใกล้ๆ  ตัวมันสูงกว่ายอดไม้ คงจะสูงหลายสิบเมตร  เขามักจะเห็นแต่ขามัน  มองไม่เห็นตัวหรือหัวของมัน แต่มันก็ไม่เคยทำอันตรายอะไรต่อใคร...  คนบางคนขวัญอ่อน ขี้กลัว ก็วิ่งกันป่าราบ  ไม่กล้าไปฝึกภาวนาแถวๆนั้นอีก ...  ไม่ทราบว่ายุคนี้เปรตตัวนี้ยังอยู่แถวนั้นหรือไม่ ? และป่าแถวนั้น สมัยก่อนมีผีก็องกอยมากมาย หลายฝูง  ตอนดึกๆ จะมีเสียงร้อง  ก๋อยยๆ  เย็นยะเยือกไปทั่วป่า   เวลาผีก็องกอยร้อง  เสียงสัตว์อื่นๆจะเงียบหมดในขณะนั้น  คนที่เข้าไปหาของป่า ไปทำผิดกฏป่าบางอย่าง  กลางคืนผีก็องกอยจะมาล้อมที่ที่บุคคลนั้นอยู่  เมื่อนอนหลับก็จะไม่ตื่นอีก นอนตายไปเลย  ตัวจะซีดหมด   ตับไตไส้พุงหายหมด ...
      ลักษณะผีก็องกอย  คล้ายๆลิงตัวเล็กๆ  มีนิ้วเท้า ๓ นิ้ว  เวลาเดินจะเดินเหมือนเดินถอยหลัง... แต่คล้ายๆมันจะมีฤทธิ์อะไรบางอย่าง  เช่น ถ้ามันร้องอีกด้านหนึ่ง  ในเวลาเสี้ยวกระพริบตา  เสียงร้องมันจะกลับไปอยู่อีกด้าน ตรงข้ามห่างกันหลายสิบหรือหลายร้อยเมตร ....  แต่สมัยนี้ ป่าแถบนั้น ถูกถางทำไร่ทำนาหมดแล้ว  เหลือแต่บนเขาบ้าง  ผีก็องกายดูเหมือนจะเงียบเสียงไปนานหลายปีแล้ว   คงหนีไปที่อื่นๆแล้ว ...



https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87+(%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88)&client=firefox-b-ab&biw=1920&bih=943&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjzgaz8lrHPAhVIvI8KHdhGA_oQ_AUICigD#tbm=isch&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%AD&imgrc=_ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดป่าบ้านค้อ


“วัดป่าบ้านค้อ” ตั้งอยู่บ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ” (ปัจจุบันมรณภาพแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2551 ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 มีเนื้อที่ 410 ไร่ ปัจจุบันมีเสนาสนะและสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่าเหมาะแก่การปลีกวิเวกของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรม ในส่วนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดอุดรธานี และได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฆราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ

การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี หนองคาย) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระพุทธบารมี โลกาธิบดีดำรง

พระพุทธบารมี โลกาธิบดีดำรง
วัดโพธิ์ชัย ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

               ในมหามงคลสมัย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร จักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร ทรงปกครองสยามรัฐสีมาอาณาจักรถ้วนถึง 50 พรรษา ในปี พุทธศักราช 2539 อันเป็นสิ่งประเสริฐสุด ที่มิเคยปรากฎมาแต่กาลก่อน แสดงถึงบุญญาธิการอันไพศาล ยังความปลาบปลื้มปิติโสมนัสมาสู่ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ     เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสำนักในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

นายประจวบ ไชยสาส์น พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จังหวัดอุดรธานี และศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   จึงได้ร่วมกันจัดสร้างพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ ปางขอฝน ขนาดหน้าตักกว้าง 6 เมตร 9 นิ้ว สูง 12 เมตร เพื่อถวายในพระพุทธบูชา โดยเสด็จพระราชกุศล   ซึ่งโครงการสร้างพระพุทธรูปนี้ ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้บรรจุโครงการร่วมเฉลิมพระเกียรติ และให้ใช้ตราสัญลักษณ์สำหรับงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
                การก่อสร้างพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 โดยมีพระราชวิทยาคมเถระ(หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) วัดบ้านไร่    เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ซึ่งการก่อสร้างดำเนินมาด้วยความเรียบร้อยจนใกล้สำเร็จ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธบารมี โลการธิบดีดำรง " (พระบารมีของพระพุทธองค์ดำรงอยู่เป็นใหญ่ใโลก)      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเบิกพระเนตร " พระพุทธบารมี โลการธิบดีดำรง " ในวันที่ 28 กันยายน พุทธศักราช 2542 (งบประมาณในการก่อสร้าง 10 ล้านบาท)



วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก)
http://www.watthip.com/temple_history/ 
พระอุโบสถเก่า
         วัดทิพยรัฐนิมิตรหรือวัดบ้านจิก เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งอยู่ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนนเรศวรกับ ถนนทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง อุดรธานี บริเวณนี้คือ "คุ้มบ้านจิก" เมื่อท่านเดินทางเข้าประตูมาก็จะสังเกตุเห็นว่ายังมีรั้วอิฐเตี้ยๆ กั้นอยู่อีกชั้นหนึ่ง แบ่งวัดออกเป็นสองตอน ตอนนอกมีพื้นที่น้อยกว่าตอนในมาก ตอนนอกนี้เคยเป็นที่ตั้งของโบสถ์เก่าซึ่งรื้อถอนออกไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก)